top of page

โครงการเพิ่มศักยภาพและยกระดับ SMEs ตามระบบมาตรฐานฮาลาล

     ปัจจุบันอาหารฮาลาล(Halal Food)เป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจอย่างมากจากหลายประเทศ ในประเทศไทยมิใช่เพียงแต่ชาวไทยมุสลิมที่จำเป็นต้องบริโภคอาหารฮาลาลเท่านั้น แต่ผู้ประกอบการซึ่งต้องการผลิตอาหารฮาลาลจำหน่ายแก่ผู้บริโภคในประเทศและผลิตเพื่อส่งออกในตลาดโลกมุสลิมก็จำเป็นต้องให้ความสนใจอย่างจริงจังและดำเนินกระบวนการผลิตอาหารฮาลาลให้ถูกต้อง ตามบทบัญญัติศาสนาอิสลามและระเบียบคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการรับรองฮาลาลฯ และหากผู้ขอการรับรองประสงค์จะใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาล จะต้องรับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายดังกล่าวจากคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยหรือคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดแล้วแต่กรณี ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารสำคัญของโลก ตลาดโลกมุสลิมมีประชากรผู้บริโภคประมาณ 2,000 ล้านคน ดังนั้นอาหารฮาลาลจึงเป็นช่องทางการตลาด(Market Channel)ที่สำคัญ

  มาตรฐานฮาลาล “ฮาลาล” 
      เป็นคำมาจากภาษาอารบิก หมายความว่า การผลิต การให้บริการ หรือการจำหน่ายใด ๆ ที่ไม่ขัดต่อบัญญัติของศาสนา ดังนั้น เราจึงอาจกล่าวได้ว่า “อาหารฮาลาล” คือ อาหารที่ได้ผ่านกรรมวิธีในการทำ 
ผสม ปรุง ประกอบ หรือแปรสภาพ ตามศาสนบัญญัตินั่นเอง เป็นการรับประกันว่า ชาวมุสลิมโดยทั่วไปสามารถบริโภคอาหาร หรืออุปโภคสินค้าหรือบริการต่าง ๆ ได้โดยสนิทใจ เราสามารถสังเกตผลิตภัณฑ์ว่าเป็น “ฮาลาล” หรือไม่นั้น ได้จากการประทับตรา “ฮาลาล” ที่ข้างบรรจุภัณฑ์นั้นเป็นสำคัญ 
     “เครื่องหมายฮาลาล” คือเครื่องหมายที่คณะกรรมการฝ่ายกิจการฮาลาลของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย หรือคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดต่าง ๆ ได้อนุญาตให้ผู้ประกอบการทำการประทับ หรือแสดงลงบนสลาก หรือผลิตภัณฑ์ หรือกิจการใด ๆ โดยใช้สัญญลักษณ์ที่เรียกว่า “ฮาลาล”      

 

      ซึ่งเขียนเป็นภาษาอาหรับว่า      

 

      ภายในกรอบสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หลังกรอบเป็นลายเส้นแนวตั้ง ใต้กรอบภายในเส้นขนานมีคำว่า “สนง.คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย” โดยเครื่องหมายดังกล่าวนี้ จะออกให้กับผลิตภัณฑ์อาหาร และเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ฮาลาล และหรือเนื้อสัตว์ฮาลาลที่นำเข้าจากต่างประเทศ เป็นต้น เครื่องหมายรับรองฮาลาลเป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรศาสนาอิสลามเท่านั้น คือคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด อาหารฮาลาลจึงเป็นเรื่องของความร่วมมือและผลประโยชน์ร่วมกันของ 3 ฝ่ายคือ มุสลิมผู้บริโภค ผู้ประกอบการและประเทศชาติ กล่าวคือ     1) มุสลิมได้บริโภคอาหารฮาลาลที่เชื่อได้ว่าถูกต้องตามบัญญัติศาสนาอิสลาม มีคุณค่าอาหาร ถูกสุขอนามัย ปลอดภัยจากสิ่งต้องห้ามทางศาสนาอิสลาม (ฮารอม) และสิ่งปนเปื้อนต่างๆ     2) ผู้ประกอบการได้รับผลประโยชน์ทางธุรกิจโดยตระหนักถึงการผลิตอาหารฮาลาลที่ถูกต้องตามบัญญัติศาสนาอิสลามและปฏิบัติตามระเบียบคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยว่าด้วยการรับรองฮาลาลอย่างเคร่งครัด ตลอดจนบริหารคุณภาพอาหารตามมาตรฐานฮาลาล     3) ประเทศชาติได้รับผลประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรัฐบาลให้การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาลอย่างครบวงจรทั้งในด้านการพัฒนาวัตถุดิบ ปัจจัยการผลิตของผู้ประกอบการการตลาดและการปรับปรุงกลไกการรับรอง "มาตรฐานอาหารฮาลาล" ขององค์กรศาสนาอิสลาม เพื่อส่งออกอาหารฮาลาลสู่ตลาดโลก

      บริษัท มนตราคอร์ปอเรชั่น จำกัดจึงได้ร่วมกับศูนย์ธุรกิจเพื่อสิ่งเสริมการส่งออกระหว่างประเทศ (SIAM PAVILION EXPORT CENTER) จัดกิจกรรม ให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อพัฒนา SMEs ตามระบบมาตรฐานฮาลาล และการสร้างเครือข่ายอุตสาหกรรมเป้าหมาย (ฮาลาล) เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการในการเข้ารับการรับรองมาตรฐานฮาลาล ซึ่งผู้ประกอบการที่ได้รับการรับรองมาตรฐานฮาลาล จะส่งผลต่อภาพลักษณ์ที่ดีของผลิตภัณฑ์  เป็นการเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค  อีกทั้งเป็นการเพิ่มโอกาสและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับกิจการของท่านเพิ่มมากขึ้น

  ประโยชน์ที่จะได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการ  

  • ได้รับบริการตรวจประเมินความพร้อมก่อนการพัฒนาปรับปรุงเพื่อเข้าสุ่ระบบมาตรฐานฮาลาล

  • ได้รับบริการการให้คำปรึกษาแนะนำในการปรับปรุงเข้าสู่ระบบมาตรฐานฮาลาล รวมทั้งการนำระบบมาตรฐาน

ฮาลาลมาใช้ในสถานประกอบการ

  • ได้รับการอบรมหลักสูตร ที่เกี่ยวข้องในการเข้าสู่ระบบมาตรฐานฮาลาล

  • ได้รับการพัฒนาระบบการผลิตในโรงงาน การจัดทำเอกสารที่จำเป็น เช่น คู่มือฮาลาล (Halal Manual) เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่การขอรับรองมาตรฐานฮาลาล

  • ได้รับโอกาสในการเข้าร่วมงานแสดงสินค้า Exhibition ในโอกาสต่างๆที่โครงการดำเนินการ

  • ได้รับโอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรมสำรวจและศึกษาตลาดในประเทศ/ต่างประเทศ
     

 คุณสมบัติและเงื่อนไขในการเข้าร่วมกิจการ 

  • จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่ยังดำเนินธุรกิจอยู่

  • เป็นโรงงานที่มีระบบมาตรฐาน GMP (จะได้รับพิจารณาเป็นพิเศษ)

  • วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ภาคการผลิตและบริการ

  • เป็นอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์และบริการ (ที่ไม่ใช่อาหาร)

  • มีความมุ่งมั่นและพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมในกิจกรรมและขอรับรองระบบมาตรฐานฮาลาล

บริษัท มนตราคอร์ปอเรชั่น จำกัด
โทรศัทพ์ : 092-2622642

อีเมล์ : montraasia@gmail.com

bottom of page